อักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับ!ทุกท่านเข้าสู่บล็อกของ นางสาวมนจิรา สุขชาวนา คบ2 สังคมศึกษา หมู่3

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ยินต้อนรับทุกท่าน! เข้าสู่เว็บบล็อกของ นางสาวมนจิรา สุขชาวนา นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่2 หมู่เรียนที่ 3 เว็บบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ( PC 54505 ) ภาคเรียนที่ 1/2555 ซึ่งภายในเว็บบล็อกนี้จะประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระ รูปภาพและวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา หากมีข้อผิดพลาดประการใดในเนื้อหาสาระผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คำอธิบายรายวิชา

               ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี  นวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจารกการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ  การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องจองกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน


กลุ่มเป้าหมาย .....ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นครูอาจารย์ผู้สอนทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์ทั่วไป 1. เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถ ทัศนคติที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
2. เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเชิงวิชาการด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านกระบวนการฝึกอบรมแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
     1. อธิบายความหมายของคุณธรรมจริยธรรมได้
     2. บอกความหมายของคำว่า "วิชาการ"ได้
     3. ระบุแหล่งที่มาของวิชาการได้
     4. อธิบายความหมายของศาสตร์และปรัชญาในประเด็นเกี่ยวกับวิชาการได้
     5. อธิบายประโยชน์ของวิชาการได้
     6. บอกความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงได้
     7. อธิบายความหมายและลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้
     8. ออกแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้
     9. สร้างเว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้

เนื้อหาการฝึกอบรม 
     1. คุณธรรมจริยธรรมเชิงวิชาการ
     2. ความพอเพียง พอดี พอเหมาะพอสม
     3. การวิเคราะห์หลักสูตรและการออกแบบการเรียนการสอน
     4. การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
     5. การสร้างเว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

การวัดและประเมินผล
     1. การวัดด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้
         1.1 แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม
         1.2 แบบสังเกต
         1.3 แบบสอบถาม
     2. การประเมินผลงานเว็บบล็อกด้วยวิธีประเมินแบบสามเส้า ได้แก่
         2.1 การประเมินตนเองของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
         2.2 การประเมินจากเพื่อนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
         2.3 การประเมินจากครูผู้สอนหรือวิทยากร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
แผนการจัดการเรียนรู้
     1. สาระสำคัญ
     2. ตัวชี้วัด
     3. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
     4. สาระการเรียนรู้
     5. สรรถนะสำคัญของผู้เรียน
     6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
     7. กิจกรรมการเรียนรู้
     8. การวัดและประเมินผล
     9. สื่อและแหล่งการรเรียนรู้
     10. บันทึกการเรียนรู้


บทที่ ๔ คุณธรรมประจำใจ

๑. การบูชา 
การบูชานั้นมีอยู่ ๒ ประเภท อันได้แก่ 
๑. อามิสบูชา คือบูชาด้วยสิ่งของ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน ซึ่งเป็นการบูชาที่ผิวเผิน 
๒. ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอน ซึ่งเป็นการบูชาที่แท้จริง

๒. บุคคลหาได้ยากในโลก
บุคคลที่จัดว่าหาได้ยากยิ่งในโลกนั้นก็ได้แก่ 
๑. บุพพการี คือผู้ที่ทำอุปการคุณก่อนโดยไม่หวังผลตอบแทน 
๒. กตัญญูกตเวที คือผู้ที่รู้คุณและตอบแทนคุณผู้มีอุปการคุณก่อน

สิ่งที่มีคุณต่อเรานั้นมีมากมาย ซึ่งก็ได้แก่ พระพุทธเจ้า, พ่อแม่,ครูอาจารย์, พระมหากษัตริย์, แม้ข้าราชการหรือบุคคลที่ดี, รวมทั้งสัตว์และป่าไม้ ซึ่งจัดเป็นบุพพการีของเราที่เราจะต้องรู้ซึ้งถึงพระคุณของท่านเหล่านั้นและตอบแทนคุณของเขาอย่างเหมาะสม อันได้แก่

การตอบแทนคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงนำธรรมะสั่งสอนเราก็คือการปฏิบัติตามหลักธรรมและเผยแพร่คำสอนต่อไป การตอบแทนคุณของพ่อแม่ที่ช่วยเลี้ยงเรามาก็คือเลี้ยงดูท่านเมื่อท่านแก่เฒ่า เชื่อฟังทาน รับใช้ท่านเป็นต้น การตอบแทนคุณของครูอาจารย์ที่ช่วยสั่งสอนเราก็คือ เชื่อฟัง, ขยันเรียน, รับใช้ท่าน เป็นต้น การตอบแทนคุณของพระมหากษัตริย์ที่ช่วยปกป้องชาติให้สงบสุขก็คือเทิดทูลพระองค์ รักสามัคคีกัน การตอบแทนคุณของข้าราชการหรือบุคคลที่ดีต่อเราก็คือปฏิบัติตามกฎหมาย ช่วยเหลือสังคม การตอบแทนคุณของสัตว์ป่าและป่าไม้ที่ช่วยให้เรามีปัจจัย ๔ และมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายก็คือ ประหยัด อนุลักษณ์ธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ

๓. ธรรมที่ช่วยปกป้องรักษา
การปฏิบัติที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งหลายได้ก็ได้แก่
๑. สติ คือระลึกได้ หรือยังจำอะไรๆได้อยู่ไม่หลงลืม 
๒. สัมปชัญญะ คือรู้สึกอยู่ว่ากำลังทำอะไรอยู่

๔. ธรรมอันทำให้งดงาม
คุณธรรมที่จะทำให้งดงามจนมีผู้คนชื่นชมนั้นก็ได้แก่ 
๑. ขันติ คือมีความอดกลั้น อดทนต่อสิ่งที่มายั่วยวน 
๒. โสรัจจะ คือมีความสงบเสงี่ยมไม่แสดงอาการไม่ดีออกมา

๕. ธรรมที่ช่วยให้โลกมีสันติภาพ
การที่โลกจะมีสันติภาพได้มวลมนุษย์จะต้องปฏิบัติตามหลักการโดยสรุปดังนี้คือ 
๑. หิริ คือมีความละอายใจต่อการทำบาป 
๒. โอตตัปปะ คือมีความเกรงกลัวต่อผลของบาป

๖. การอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน
ผลดีจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆของโรงเรียนก็ได้แก่ 
๑. ตนเองมีความปรกติสุข 
๒. ครูอาจารย์และเพื่อนที่ดีรักใคร่ 
๓. มีความก้าวหน้าในการเรียน และการงานในอนาคต 
๔. มีความมั่นคงในชีวิต

๗. การฝ่าฝืนระเบียบวินัยของโรงเรียน
ผลเสียจากการฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆของโรงเรียนก็ได้แก่ 
๑. ตนเองไม่มีความปรกติสุข (ถูกทำโทษ) 
๒. ครูอาจารย์และเพื่อนที่ดีรังเกียจ 
๓. ไม่มีความเจริญก้าวหน้าในการเรียนและการงานในอนาคต 
๔. ไม่มีความมั่นคงในชีวิต

๘. ประโยชน์จากความขยัน
๑. เรียนเก่ง ทำงานเก่ง(เก่ง) 
๒. มีความรู้มาก มีทรัพย์มาก(รวย) 
๓. คนดีชื่นชอบ มีเกียรติ(สวย) 
๔. ชีวิตเจริญและมั่นคง(ดี)

๙. โทษจากความเกียจคร้าน
๑ . เรียนแย่ ทำงานแย่(แย่) 
๒. โง่เขลา ยากจน(โง่) 
๓. คนดีรังเกียจ ด้อยเกียรติ(โซ) 
๔. ชีวิตตกต่ำและไม่มันคง(จน)

๑๐. คุณประโยชน์จากความประหยัด
๑. มีทรัพย์มาก(รวย) 
๒. ชีวิตไม่เดือดร้อน 
๓. ชีวิตมีความสุขมาก 
๔. มีความมั่นคงในชีวิต

๑๑. โทษจากความฟุ่มเฟือย
๑. ขาดแคลนทรัพย์(จน) 
๒. ชีวิตเดือดร้อน 
๓. ชีวิตมีความสุขน้อย 
๔. ชีวิตขาดความมั่นคง